การรักษารากฟัน

การรักษารากฟัน

การรักษารากฟัน

เป็นวิธีที่ใช้รักษาฟันที่ถูกทำลายจากฟันผุจนเป็นโพรงหรือรู ซึ่งการอุดฟันจะช่วยป้องกันไม่ให้มีฟันผุเพิ่มขึ้นด้วยการปิดช่องทางไม่ให้แบคทีเรียเข้าไปได้อีก โดยวัสดุที่นำมาใช้ในการอุดฟันมีหลายประเภท เช่น ทอง อมัลกัม (Amalgam) หรือวัสดุอุดฟันทำจากโลหะปรอท เงิน ทองแดง และสังกะสี คอมโพสิตเรซิ่น (Composite Resin) หรือการอุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน ซึ่งการเลือกใช้วัสดุใดนั้นจะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ที่จะเลือกให้เหมาะสมกับผู้ป่วยที่ต้องการ การรักษารากฟัน ด้วย

คนที่ต้องการรักษารากฟันจะต้องมีลักษณะอย่างไร


ฟันที่จะต้องรักษารากฟันส่วนใหญ่ก็จะเป็นฟันที่ผุมีขนาดใหญ่จะทะลุโพรงประสาทฟัน หรือเป็นฟันที่มีรอยร้าว ฟันที่แตกหรือหักหรือฟันที่สึกจนทะลุโพรงประสาทฟัน หรือไม่ก็เป็นฟันที่ได้รับแรงกระแทกจากอุบัติเหตุ ทั้งหมดนี้ก็ล้วนแล้วแต่ทำให้เชื้อโรคสามารถเข้าไปในตัวฟัน ทำให้เกิดการติดเชื้อในเนื้อเยื่อในโพรงประสาทฟันได้

อาการผู้ที่ต้องรักษารากฟัน


คือ ฟันที่ต้องรักษารากฟันส่วนใหญ่จะมีอาการปวดค่อนข้างรุนแรง บางครั้งอาจจะปวดเป็นๆหายๆ บางที่ปวดมากจนไม่สามารถนอนได้ อาจจะมีอาการเสียวฟันมากเวลาดื่มน้ำร้อนน้ำเย็น หรือตัวฟันอาจจะมีสีคล้ำขึ้น มีสีเข้มขึ้น หรือมีตุ่มหนองบริเวณเหงือกหรือมีอาการบวมบริเวณใบหน้าได้

ขั้นตอนในการรักษารากฟัน


–  ใส่ยาชา

–  ใส่แผ่นยางกันน้ำลาย

–  กรอที่ตัวฟันเพื่อเปิดทางเข้าสู่คลองรากฟัน ทำการกำจัดเนื้อเยื่อที่มีการติดเชื้อในโพรงประสาทฟันร่วมกับการล้างน้ำยาที่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อโรค และมีการใส่ยาในคลองรากฟัน หลังจากนั้นเมื่อฟันมีอาการปกติจะทำการอุดคลองรากฟัน เพื่ออุดปิดช่องว่างที่อยู่ในคลองรากฟันไม่ให้เชื้อโรคกลับมาได้อีก และหลังจากนั้นก็จะกลับมาบูรณะตัวฟัน เพื่อให้เกิดความแข็งแรง และมีความสวยงามใช้งานได้ตามปกติ

–  รักษาคลองรากฟันใช้เวลารักษาประมาณ 2-3 ครั้ง

เมื่อเราทำการรักษารากฟันแล้วควรทำอย่างไร


หลังการรักษารากฟันอาจจะมีอาการปวดได้ 1-3 วันแรก ถ้ามีอาการปวดสามารถทานยาแก้ปวดได้ แต่ถ้าอาการปวดทุเลาลงหรือว่ามีอาการปวดมากขึ้น ก็แนะนำให้รีบกลับมาพบทันตแพทย์ และฟันที่ยังไม่ได้รับการบูรณะที่แช็งแรง ก็แนะนำว่าอย่าเพิ่งใช้งานเคี้ยวอาหารที่มีของแข็ง เพราะฟันมีโอกาสที่จะแตกหักได้

หากว่าเวลาผ่านไปนานๆ แล้วมีโอกาสที่ฟันจะกลับมาปวดอีกหรือไม่


ถ้าฟันที่รักษารากฟันแล้วสามารถกำจัดสาเหตุ และกำจัดเชื้อโรคได้ดี ร่วมกับการบูรณะที่ดีแข็งแรง ไม่มีการรั่วซึมฟันก็จะหายเป็นปกติไม่มีอาการปวดกลับมาอีก

หลังจากรักษารากฟันต้องทำครอบฟันหรือไม่


หลังจากรักษารากฟันแล้ว เราต้องทำการบูรณะฟัน เพื่อให้กลับมาใช้งานได้เป็นปกติ ซึ่งส่วนใหญ่ฟันที่ต้องรับการรักษารากฟันมันจะเป็นฟันที่ผุใหญ่และลึก หรือฟันแตกหักเหลือเนื้อฟันน้อย ฟันที่เหลือเนื้อฟันน้อยเหล่านี้หากทำการบูรณะด้วยการอุดทั่วไป อาจเกิดการแตกหักเมื่อใช้งาน ถ้าฟันที่แตกอยู่ใต้ขอบเหงือกหรือเนื้อฟันน้อยกว่าเดิมจนไม่สามารถบูรณะได้ อาจจะต้องถูกถอนในภายหลัง ดังนั้นฟันที่เหลือเนื้อฟันน้อย หลังจากการรักษารากฟันควรทำเดือยฟันและครอบฟัน แต่หากฟันนั้นเหลือเนื้อฟันเยอะอาจจะทำการบูรณะด้วยการอุดได้

ฟันหน้ารากฟันมักจะตรง
ฟันหน้ารากฟันมักจะตรง
ฟันหลังรากฟันอาจจะโค้งและการรักษามักจะซับซ้อน
ฟันหลังรากฟันอาจจะโค้งและการรักษามักจะซับซ้อน

การดูแลทำความสะอาดฟันที่มีการรักษารากฟันมาควรทำอย่างไร


ฟันที่รักษารากฟันแล้วสามารถดูแลรักษาฟันเช่นเดียวกับฟันที่ปกติ ได้แก่ การแปรงฟันทุกครั้งหลังอาหารอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง และมีการใช้ไหมขัดฟันหลังจากการแปรงฟันด้วย นอกจากนี้ก็ยังควรไปพบทันตแพทย์ อย่างน้อยๆ ปีละ 2 ครั้ง หรือตามที่ทันตแพทย์นัดเพื่อตรวจดูแลติดตามอาการ

ฟันที่เคยปวดแล้วหายปวด ไม่รักษารากฟันได้หรือไม่


ถ้าการปวดฟันมาจาก การติดเชื้อในโพรงประสาทฟัน ควรทำการรักษารากฟัน เพราะถ้าไม่ทำการรักษาอาจจะทำให้การติดเชื้อลุกลามไปมากกว่าเดิม การปวดฟันอาจจะกลับมาเป็นอีกเมื่อไรก็ได้ และความสำเร็จในการรักษารากฟันลดลง

เครื่องมือรักษารากฟันแบบเป็นมอร์เตอร์ และสามารถโค้งไปตามคลองรากฟันได้ดีกว่าเครื่องมือแบบเดิม
เครื่องมือรักษารากฟันแบบเป็นมอร์เตอร์ และสามารถโค้งไปตามคลองรากฟันได้ดีกว่าเครื่องมือแบบเดิม

รักษารากฟัน ต้องทำกับหมอจบเฉพาะทางด้านรักษารากฟันหรือไม่


การรักษารากฟันที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อน เช่น ฟันหน้าที่มีรากตรงปกติ ทันตแพทย์ทั่วไปสามารถรักษาได้ แต่ในกรณีที่เป็นฟันหลังหรือฟันที่มีความซับซ้อน เช่น ในเด็กที่ปลายรากฟันยังไม่ปิด หรือรากฟันโค้ง การรักษาโดยทันตแพทย์ผู้ชำนาญการ จะทำให้โอกาสสำเร็จในการรักษารากฟันเพิ่มมากขึ้น

การใช้เครื่องมือที่ทันสมัย เช่น เครื่องมือขยายคลองรากฟันแบบเป็นมอเตอร์ แทนการใช้การขยายด้วยมือเพียงอย่างเดียว เครื่องมือขยายสามารถงอโค้งไปตามคลองรากฟันได้ สามารถทำให้ระยะเวลาในการรักษาลดลงและเพิ่มความสำเร็จในการรักษา

คลินิกทันตกรรมวีเด้นท์ มีทันตแพทย์เฉพาะทางด้านการรักษารากฟัน พร้อมให้บริการ และเข้าใจคนไข้ที่ปวดฟัน ว่าควรได้รับการรักษาเพื่อบรรเทาการปวดโดยเร็ว มีความตั้งใจจะช่วยเหลือคนไข้อย่างใส่ใจครับ


ใบอนุมัติบัตรของหมอที่คลินิก Wedent

การรักษารากฟันตอน 1

การรักษารากฟันตอน 2

No Comments

Sorry, the comment form is closed at this time.